วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย เสี่ยง "ลำไส้อักเสบเรื้อรัง"

ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย เสี่ยง "ลำไส้อักเสบเรื้อรัง"
คุณ หรือว่าคนที่คุณรู้จัก มีอาการบ่อยๆ บ้างหรือเปล่าคะ บ่อยในที่นี้คือแทบทุกวัน หรือแทบจะทุกอาทิตย์ ท้องเสียแบบที่หาสาเหตุไม่ได้ ไม่รู้ว่าไปทานอะไรมา บางครั้งอาการท้องเสีย ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยอันตรายของโรคร้ายอยู่ก็เป็นได้ คุณมีความเสี่ยงหรือไม่ มาเช็คกันค่ะ

ปวดท้อง ท้องเสีย สาเหตุมาจากอะไร?
อาการท้องเสียเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจมาจากอาหารที่ทานมีรสจัดมากเกินไป แพ้อาหาร ติดเชื้อจากอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียบางอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากอาหารการกินที่ทานเข้าไป
แต่ยังมีปัจจัยอื่น เช่น ความผิดปกติของร่างกายเราเอง อย่างเยื่อบุผนังลำไส้ผิดปกติ มีเนื้องอกในลำไส้ หรืออาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และระบบการย่อยอาหารอื่นๆ

ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย เสี่ยงเป็นโรคอะไร?
ตัวอย่างของโรคที่อาจพบได้ในคนที่มีอาการท้องเสียบ่อย คือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Diseases หรือ IBD) ที่มีลักษณะคล้ายโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ปรสิต หรือพยาธิ

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากอะไร?
จริงๆ แล้วสาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เป็นอาการอักเสบของลำไส้ที่หนัก และเรื้อรังกว่าลำไส้อักเสบตามปกติ

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีกี่ประเภท?
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามลักษณะของการอักเสบ และตำแหน่งที่อักเสบ ดังนี้
  1. ลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิด Crohn’s Disease
เป็นอาการลำไส้อักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก ส่วนใหญ่มักพบที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย และลำไส้ใหญ่ส่วนต้น โดยมีลักษณะของการอักเสบอยู่ 3 แบบ
- อักเสบบวมคล้ายฝี ที่เกิดจากการที่เนื้อเยื่อลำไส้พยายามซ่อมแซมตัวเองจากการอักเสบ จนทำให้ลำไส้มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ ภายในลำไส้แคบเล็กลง จนอาจเกิดเป็นลำไส้อุดตันต่อได้
- อักเสบเป็นแผลลึก โดยอาจอักเสบจนทะลุไปยังอวัยวะส่วนอื่นใกล้เคียง เช่น ลำไส้ทะลุไปกระเพาะปัสสาวะ หรือทะลุไปที่ช่องคลอด
- อักเสบแบบทั่วไป ที่ไม่ใช่แบบคล้ายฝี และไม่ทะลุไปส่วนอื่น
  1. ลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิด Ulcerative Colitis
ลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดนี้จะพบได้บริเวณผิวผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้น โดยจะทำให้มีอาการถ่ายอุจจาระปนเลือด มีไข้ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจมาพร้อมกับอาการอักเสบของส่วนอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ตาอักเสบ ตับอักเสบ เป็นต้น

diarrhea-2

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีอาการอย่างไร?
- ปวดเกร็งช่องท้อง
- ท้องเสียบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้ง
- อาจถ่ายอุจจาระมีเลือดปน
- อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ

ท้องเสียนานแค่ไหน ถึงเสี่ยงเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง?
หากมีอาการท้องเสียมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือพบแพทย์ ทานยาแล้วยังไม่หาย อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ถึงกระนั้น จะแน่ใจว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบหรือไม่นั้น ต้องให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด โดยอาจมีการตรวจอุจจาระ ทำซีทีสแกน ส่องกล้อง หรืออาจตัดชิ้นส่วนตรวจ

อันตรายของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
นอกจากาการท้องเสียที่จะรบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแล้ว การถ่ายบ่อยๆ ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียน้ำ สารอาหาร โปรตีน ของเหลวต่างๆ รวมถึงเลือดด้วย จึงอาจทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเลือดจาง หรือถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
นอกจากนี้การอักเสบของลำไส้นานๆ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร?
เมื่อแพทย์วินิจฉัยได้แล้วว่า เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดใด แพทย์ก็เป็นผู้เลือกยาเพื่อทำการรักษาให้ และจะตามเช็คดูอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจพิจารณาการผ่าตัดในบางกรณี

แม้ว่าจะไม่ได้เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากนัก แต่ก็มีผู้ป่วยโรคนี้เข้ารับการรักษาอยู่จำนวนหนึ่ง และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นหากอยากลดโอกาสในการเกิดการอักเสบในช่องท้อง ควรเริ่มต้นที่อาหารที่ทาน ทานอาหารที่สะอาด สด ใหม่ ลดการทานอาหารที่ผสมของหมักดองที่ไม่ได้คุณภาพ และดูแลการขับถ่ายให้เป็นปกติอยู่เสมอ
ขอขอบคุณ

10 ประโยชน์ของ “ฟักทอง” ลดน้ำหนัก-เบาหวาน-มะเร็ง

10 ประโยชน์ของ “ฟักทอง” ลดน้ำหนัก-เบาหวาน-มะเร็ง
เทรนด์อาหารคลีนยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องข้ามปี และน่าจะยังอยู่กับหนุ่มสาวชาวไทยไปอีกนาน ใครที่ซื้ออาหารคลีนทาน หรือว่าทำอาหารคลีนทานเอง น่าจะเคยเห็นวัตถุดิบอันเลอค่านี้อยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ “ฟักทอง” นั่นเอง ทำไมอาหารคลีนส่วนใหญ่ถึงต้องมีฟักทอง แล้วฟักทองมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

10 ประโยชน์ของ “ฟักทอง”
  1. ฟักทอง เป็นหนึ่งในผักที่มีสีเหลืองออกส้ม ที่ช่วยบำรุง และรักษาสายตา
  2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทีช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง
  3. บำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง ชุ่มชื่น ชะลอรอยเหี่ยวย่น
  4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  5. ลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
  6. ไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนัก
  7. ป้องกันโรคหลอดเลือด และหัวใจ
  8. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานอย่างเป็นปกติ จากกากใยอาหารที่มีอยู่สูง
  9. ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
  10. ป้องกันการเกิดโรคนิ่ว

iStock-513885286
วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองนะคะ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟักทองมาประกอบอาหาร อาจจะเหลือเปลือกบางๆ เอาไว้ทานกรุบๆ บ้างก็ได้
นอกจากนี้ ใครที่อยากทานฟักทองเพื่อลดความอ้วน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ก็อย่าเผลอทานฟักทองแกงบวด ฟักทองสังขยาล่ะ เพราะเป็นขนมที่มีน้ำตาลสูง แนะนำให้ต้ม หรือนึ่งทาน ปั่นทานกับผักผลไม้อื่นๆ หรือทำซุปฟักทอง ฟักทองผัดไข่ทานเป็นอาหารคาวน่าจะดีกว่าค่ะ
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : Med Thai

ยาพาราเซตามอล เม็ดเดียว หรือ 2 เม็ดดี?

ยาพาราเซตามอล เม็ดเดียว หรือ 2 เม็ดดี?
ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ เอะอะก็ยา เพราะเป็นยาที่ใช้ง่าย ไม่อันตราย (หากไม่ทานติดต่อกันเกิน 5 วัน หรือทานในปริมาณที่มากเกินไป) ผลข้างเคียงน้อย และใช้ได้ทั้งเด็กละผู้ใหญ่
แต่ปัญหามันอยู่ที่ปริมาณการทานนี่แหละ ที่เป็นคำถามโลกแตก บางคนก็ให้กินเม็ดเดียว บางคนก็ให้กิน 2 เม็ด เอาเกณฑ์อะไรมาวัดกันนะ Sanook! Health นำข้อมูลจาก สสส. มาฝากให้เคลียร์กันค่ะ

ขนาดของยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมกับแต่ละคน
ปริมาณที่เหมาะสมในการทานยาพาราเซตามอลของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาจากรูปร่าง น้ำหนัก และอายุของผู้ที่ทานด้วย โดยปริมาณของยาพาราเซตามอลแต่ละครั้งคือ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม คำนวณให้เห็นภาพตามง่ายๆ ได้ดังนี้
- ผู้ที่มีน้ำหนัก 34-50 กิโลกรัม ให้ทานยาพาราเซตามอลเพียง 1 เม็ด ไม่เกิน 5-6 ครั้งต่อวัน
- ผู้ที่มีน้ำหนัก 50-75 กิโลกรัม ให้ทานยาพาราเซตามอล 1 เม็ดครึ่ง ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน
- ผู้ที่มีน้ำหนัก 75 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ทานยาพาราเซตามอล 2 เม็ด ไม่เกิน 3-4 ครั้งต่อวัน
โดยทุกคนสามารถทานยาพาราเซตามอลได้ทุก 4-6 ชั่วโมง
คนที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม จะทาน 1 เม็ด หรือ 1 เม็ดครึ่งก็ได้
ส่วนคนที่มีน้ำหนัก 75 กิโลกรัม จะทาน 1 เม็ดครึ่ง หรือ 2 เม็ดก็ได้

1030985

ทานยาพาราเซตามอลมากเกินไป เป็นอันตราแม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย แต่หากทานในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือทานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ก็อาจส่งผลต่อการทำงานของตับที่ผิดปกติ เกิดภาวะตับเป็นพิษ จนนำไปสู่ภาวะตับวาย และในกรณีที่มีอาการหนักมากๆ ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน
นอกจากนี้ การทานยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ หรือเป็นไข้ สามารถหยุดทานยาได้ทันทีที่ไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องทานติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนหมด หากใครทานแล้วมีอาการแปลกๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืดท้องบวม หรือมีผื่นคัน ควรหยุดทานทีแล้วพบแพทย์โดยด่วนที่สุด
คำแนะนำนี้ ใช้ได้กับยาพาราเซตามอลสูตรเท่าไป (500 มิลลิกรัม) หากเป็นยาพาราเซตามอลสูตรพิเศษ ที่มีความเข้มข้นของตัวยาสูงกว่าเดิม หรือเป็นยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ อาจจะต้องปรึกษาเภสัชการก่อนทานยาค่ะ

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV
แม้ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาช้านาน กล่าวถึงชื่อโรคนี้ใครๆ ก็รู้จัก แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ายังมีคนไทยหลายคนที่ยังมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ป่วย HIV อย่างไม่ถูกต้องเท่าที่ควร Sanook!  Health  เลยรวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ และผู้ติดเชื้อ HIV มาให้ทุกคนได้ปรับความเข้าใจกันใหม่ค่ะ


8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

1. โรคเอดส์ กับเชื้อ HIV ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
- HIV เป็นเชื้อไวรัส

- เอดส์ เป็นภาวะที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นหลังจากที่ร่างกายถูกทำร้ายจากไวรัส HIV อีกทีหนึ่ง

2. เป็นเอดส์ ยังมีโอกาสรอด

ถึงแม้จะยังไม่มีวิธี และยารักษาโรคเอดส์โดยตรง แต่หากพบในระยะที่ยังเป็นผู้ติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยสามารถทานยาต้านไวรัส ไม่ให้เชื้อไวรัสทำร้ายภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนแสดงอาการผิดปกติออกมาได้ เพราะฉะนั้นยิ่งพบเชื้อเร็ว ยิ่งควบคุมเชื้อไวรัสได้ง่าย โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งมีสูง นอกจากนี้เมืองไทยยังมีสวัสดิการมอบยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อฟรีอีกด้วย เพียงลงทะเบียนเข้าโครงการรับยาต้านไวรัสกับโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ และคอยติดตามผลกับแพทย์อยู่เสมอ

3. เป็นเอดส์ ติดเชื้อ HIV ต้องตายด้วยอาการมีแผล ตุ้ม หนอง ขึ้นเต็มตัว

นั่นเป็นอาการของโรคฉวยโอกาส อาจจะเป็นโรควัณโรค ซึ่งเข้ามาทำร้ายร่างกายหลังจากที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่ดี ปล่อยให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโรคที่แสดงอาการทางผิวหนังก็ได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

4. ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนสำส่อน มักมากในกาม
มีหลายคนที่ติดเชื้อ HIV จากแม่ จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ป่วย และอาจติดจากคู่ครองของตนเอง นั่นหมายความว่า หากมีเพศสัมพันธ์กับแค่คนๆ เดียว แต่หากเป็นผู้ติดเชื้อ ก็มีโอกาสติดเชื้อต่อจากคนนั้นได้เช่นกัน

5. เชื้อ HIV ไม่ได้ติดต่อกันง่ายเหมือนไข้หวัด
เชื้อ HIV ไม่สามารถติดกันได้ ผ่านทาง

- กอด จูบ (ยกเว้น จะมีแผลในปาก และเป็นการจูบแลกลิ้น แลกน้ำลายกัน)

- ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้ช้อน ส้อมคันเดียวกัน

- มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย

- ลมหายใจ

- ใช้สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ยาสีฟัน ร่วมกัน


เชื้อ HIV ติดต่อกันได้ผ่านทาง

- สารคัดหลั่ง เลือด ผ่านการใช้อุปกรณ์อย่างเข็มฉีดยา

- เลือด และการให้นมบุตรของแม่

- รับสารคัดหลั่ง และเลือด เข้าสู่ร่างกายผ่านแผล (ต้องเป็นแผลสดๆ เท่านั้น)

- โอกาสที่จะติดเชื้อ ไม่ใช่ 100% เสมอไป

6. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจไม่ต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ มีโอกาสที่เชื้อไวรัส HIV อาจจะลดลงเรื่อยๆ จะอาจสามารถหยุดการทานยาได้ แต่แพทย์จะยังคงตรวจสุขภาพต่อเป็นระยะๆ

7. ผู้ติดเชื้อ HIV อาจมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป

หากทานยาต้านไวรัสตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเป็นประจำ ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว อยู่ต่อไปได้อีกหลายสิบปี มีอายุขัยเท่ากับคนปกติเลยทีเดียว ดีไม่ดีอาจอายุยืนกว่าคนปกติที่เป็นโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน หัวใจ อีกด้วย มะเร็ง อีกด้วย

8. ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถมีครอบครัวได้

ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัย จะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อได้ แต่หากอยากมีครอบครัว ผู้ป่วยสามารถจูงมือคู่รัก เพื่อปรึกษาแพทย์ หาทางออกในการมีครอบครัว มีบุตรโดยที่บุตรไม่ติดเชื้อ HIV ได้

โรคเอดส์ และเชื่อไวรัส HIV ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เรา หรือใครหลายๆ คนคิดนะคะ ขอให้เปิดใจ และมองเขาเหมือนเป็นคนปกติธรรมดาทั่วไป อย่าแสดงทีท่ารังเกียจ หรือกลัวอะไรพวกเขา เท่านี้พวกเขาก็มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปแล้วล่ะค่ะ
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : ซีรี่ยส์ Hormones

5 วิธีกินยาสมุนไพรแบบผิดๆ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

5 วิธีกินยาสมุนไพรแบบผิดๆ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
มีความเชื่อกันว่ายาปลอดภัย และให้ผลดีกว่ายาฝรั่ง หรือยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยหลายคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง มักหันเหมาเลือกทานยาสมุนไพร ด้วยเข้าใจว่ายาสมุนไพรมาจากธรรมชาติ ไม่ตกค้างที่ตับจนทำให้ตับพังเหมือนยาปฏิชีวนะ
แม้ว่ายาสมุนไพรจะดูไม่เป็นอันตราย แต่หากทานไม่ถูกวิธี ก็อาจให้โทษ และทำอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

อันตรายจากสมุนไพรที่คุณอาจมาเคยรู้
  1. ยาสมุนไพร อาจทำให้เกิดอาการแพ้
ก็เหมือนกับยาปฏิชีวนะ ที่สมุนไพรสามารถทำให้คุณเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน อาการแพ้ที่เกิดขึ้นมีทั้งอาการเล็กๆ น้อยๆ อย่างผื่นคัน ไปจนถึงคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ ตามัว ลิ้นชา ใจสั่น ใจเต้น หรืออาจหลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลันได้

  1. ยาสมุนไพร อาจเป็นพิษต่อร่างกาย
หากยาปฏิชีวนะทำให้ตับหรือไตพังได้ ยาสมุนไพรก็อาจทำได้เช่นกัน เพราะยาสมุนไพรบางชนิดอาจเป็นพิษต่อตับ จนทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้ โดยอาจทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือปัสสาวะเหลืองผิดปกติ สำหรับอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับไต อาจพบเนื้อพังผืดเกิดขึ้นในไต และอาจเกิดภาวะไตวายได้

  1. ยาสมุนไพร อาจมีผลข้างเคียง
แม้ว่าจะประกอบไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติที่น่าจะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอะไร แต่อันที่จริงแล้วผลข้างเคียงเหล่านี้อาจรบกวนร่างกายโดยที่คุณอาจไม่ทราบ หรืออาจรบกวนโรคอื่นๆ ที่คุณอาจกำลังเป็นอยู่ด้วยก็ได้ เช่น กระเทียม ที่คนมักหามาทานเพื่อช่วยลดความดันโลหิต แต่มีผลข้างเคียงคือ เลือดออกง่าย ดังนั้นหากจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด อาจจะต้องหยุดทานก่อน เป็นต้น

  1. ยาสมุนไพร ไม่ได้รักษาได้ทุกโรค
จริงๆ แล้วบ้านเราสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรกับโรคเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น เป็นหวัด มีไข้ เจ็บคอ มากกว่าโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง หรือโรคติดเชื้อ เพราะหากเป็นโรคอย่าง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือวัณโรค อาจยังไม่มีงานวิจัยออกมาพิสูจน์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ารักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นยาสมุนไพรอาจยังไม่ใช่ทางออกของการรักษาที่แท้จริง
นอกจากนี้ อาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาสมุนไพรเช่นกัน เพราะยาสมุนไรมักให้การรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นหากมีอาการรุนแรงที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ควรพบแพทย์จะดีกว่า

  1. ยาสมุนไพร ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะไม่ได้เสมอไป
ใครที่คิดว่าสองแรงแข็งขัน ยาที่หมอให้มาก็ทาน ยาสมุนไพรที่ซื้อมาเองก็ทาน บางครั้งอาจเป็นการเพิ่มฤทธิ์ของการรักษามากจนเกินไป จนอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น หากกำลังรับยาลดความดันอยู่ แต่ไปทานยาสมุนไพรกระเทียมที่ช่วยลดความดันโลหิตลงไปอีก อาจเป็นการลดความดันลงมากเกินไปจนกลายเป็นความดันต่ำได้
ดังนั้นหากรับการรักษาจากแพทย์อยู่แล้ว อาจนำยาสมุนไพรไปปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถทานควบคู่กับยาปฏิชีวนะได้หรือไม่ เพื่อที่หมอจะได้จัดเตรียมปริมาณในการทานยาทั้งสองชนิดได้อย่างเหมาะสม

ไม่ว่าจะทานยาอะไร ควรศึกษาหาข้อมูลให้แน่ใจก่อนทาน ทั้งศึกษาด้วยตนเอง และปรึกษาเภสัชกรในร้ายขายยาใกล้บ้านก็ได้ เพราะการทานยาจากคำโฆษณาชวนเชื่อ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อย่างไม่ทันตั้งตัว
ขอขอบคุณ